เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 9. สัตตสมถนิทาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ
เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดน
เกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ
มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย
เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ว่าด้วยมูลเหตุ และสมุฏฐานแห่งสมถะ
[353] ถาม : สมถะ 7 มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สมถะ 7 มีมูลเหตุ 26 มีสมุฏฐาน 36
ถาม : สมถะ 7 มีมูลเหตุ 26 อะไรบ้าง
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีมูลเหตุ 4 คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ 1 ความพร้อม
หน้าธรรม 1 ความพร้อมหน้าวินัย 1 ความพร้อมหน้าบุคคล 1

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :533 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] 10. สัตตสมถนานัตถาทิ
สติวินัย มีมูลเหตุ 4 อมูฬหวินัย มีมูลเหตุ 4 ปฏิญญาตกรณะ มีมูลเหตุ 2
คือ (1) ผู้แสดง (2) ผู้รับ เยภุยยสิกา มีมูลเหตุ 4 ตัสสปาปิยสิกา มีมูลเหตุ 4
ติณวัตถารกะ มีมูลเหตุ 4 คือ (1) ความพร้อมหน้าสงฆ์ (2) ความพร้อมหน้าธรรม
(3) ความพร้อมหน้าวินัย (4) ความพร้อมหน้าบุคคล
สมถะ 7 มีมูลเหตุ 26 นี้
ถาม : สมถะ 7 มีสมุฏฐาน 36 อะไรบ้าง
ตอบ : การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่
คัดค้าน กรรม คือ สติวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ อมูฬหวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ เยภุยยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ตัสสปาปิยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ติณวัตถารกะ
สมถะ 7 มีสมุฏฐาน 36 นี้

10. สัตตสมถนานัตถาทิ
ว่าด้วยสมถะ 7 มีอรรถต่างกัน เป็นต้น
[354] ถาม : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :534 }